ค่ายสวนป่าฮา&เฮ กลุ่มหมู่บ้านพอ

อ่าน: 4226

ยอมรับครับว่าค่ายนี้ เป็นค่ายที่ผมรอคอยและมีความสุขมากที่ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

กลุ่มหมู่บ้านพอจัดตั้งขึ้นประมาณน้ำท่วมประเทศ ปี 2554 โดยคุณธนน รัตนบรรณกิจ (ปริ๊นซ์) มีหลักการที่คล้ายกับหมู่บ้านเฮ/หมู่บ้านโลกอย่างน่าประหลาด เราได้ตกลงกำหนดค่ายนี้เอาไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม 58 ว่าจะจัดระหว่างวันที่ 4-6 เมย 58 มีสมาชิกมาร่วมจากหลายจังหวัด (เลข โคราช ตราด กรุงเทพ) และมาขอมาร่วมจากเพชรบุรีด้วย รวมประมาณ 15 ท่าน

อ่านต่อ »


ค่ายสวนป่าฮา&เฮ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

อ่าน: 3972

วันที่ 15กพ58 มีค่ายสวนป่าฮา&เฮ สำหรับผู้ปกครองโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ซึ่งขอให้จัดค่ายเกี่ยวกับไบโอชาร์ให้ มีผู้ปกครอง 35 ท่าน และมีเด็กนักเรียนติดมาด้วย 9 คน ค่ายนี้ เปิดให้ “คนนอก” เข้าร่วมเรียนได้ แต่ก็มีปัญหาเหมือนเดิม คือคนนอกไม่ยอมลงทะเบียน ทำให้ไม่รู้จำนวนคนที่แน่นอน เตรียมอาหารและที่พักไม่ได้ ถ้าเพียงแต่นึกถึงคนเตรียมงานบ้าง ไม่คิดเฉพาะแต่เรื่องของตนเอง ก็คงจะดีกว่านี้… ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ มันผ่านไปหมดแล้ว

อ่านต่อ »


ค่ายสวนป่าฮา&เฮ ครั้งที่ 3

อ่าน: 4212

ค่ายนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-25 มค 58 สำหรับคนที่ยังคาใจเรื่องไบโอชาร์โดยเฉพาะ โดยเรานัดกันที่สวนป่าตั้งแต่บ่ายวันที่ 23 มค 58

มีผู้มาร่วมในค่ายนี้น้อยมากที่ลงทะเบียนอย่างถูกต้อง มีที่อยู่ดีๆ มาก็มี ไม่ได้รู้ตัวเลยว่าการเตรียมอาหารและที่พัก ยุ่งวุ่นวายขนาดไหน หากไม่รู้จำนวนผู้มาร่วมที่แน่นอน

[ภาพรวมกิจกรรม บนเฟซบุ๊ก]

อ่านต่อ »


ค่ายสวนป่าฮา&เฮ ครั้งที่ 2

อ่าน: 4757

ค่ายนี้ ตั้งใจจะเพาะกล้าของคนปลูกต้นไม้

แรกเริ่มเดิมทีค่อนข้างสับสน มีสมาชิกจากค่ายแรกที่ติดกิจธุระไม่สามารถจะมาร่วมค่ายแรกได้ ขอย้ายมาค่ายนี้ แต่ค่ายที่สองก็มีสมาชิกจองมาเข้าอยู่แล้ว แม้บอกว่าเต็ม ก็ยังมีคนขอแทรกอยู่ตลอด สวนป่าไม่ใช่รีสอร์ตหรอกครับ มาเยอะเกินไป เราก็รับไม่ไหว

ค่ายครั้งที่สองนี้ ในที่สุดแล้วมากัน 22 ท่าน สำหรับโปรแกรมวันที่ 22-23 พย 57 โดยทยอยกันมาตั้งแต่บ่ายวันที่ 21 และประมาณครึ่งหนึ่งก็กลับในเช้าวันที่ 24

อ่านต่อ »


นิสิต OCARE จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 57

อ่าน: 4053

นิสิตในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร (OCARE) เป็นรุ่นที่สองที่มาส่วนป่า แต่เป็นรุ่นที่สามของคณะ (รหัส 55)

รุ่นแรกครูบาเป็นวิพุทธิยาจารย์อาสาและชาวเฮตามไปช่วยไปกันมากมาย ผมก็อยากไปร่วมนะครับ แต่เห็นว่าไปกันเยอะแล้วเลยเกิดเกรงใจเจ้าภาพ :-D อยู่ที่ไหนก็ช่วยได้ถ้าจะช่วย ปีถัดมานิสิตโอแคร์ยกพลมาสวนป่าเป็นครั้งแรก มีชาวเฮมาช่วยกันสี่ท่าน ยังมีนิสิตติดต่อกับผมอยู่เรื่อยๆ ปีที่แล้วผมพูดไปหลายเรื่อง ไม่นึกว่ามีนิสิตเกิดดวงตาเห็นธรรม เกาะติดและเอาไปทำได้จริงๆ

ในปีนี้นั้น มีนิสิตมา 37 และอาจารย์อีก 7 ท่าน โดย ศ.น.สพ.ดร.อรรณพ คุณาวงษ์กฤต ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เป็นผู้นำมาเหมือนกับปีที่แล้วครับ ถ้ามาหน้าหนาว จะเหมาะกว่านี้อีกเนื่องจากพืชพรรณไม้จะเปลี่ยนไป อากาศเย็นสบาย

อ่านต่อ »


นักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อ่าน: 3931

กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ระหว่าง 8-19 มีค วันที่ 20 กลับมาสวนป่า ออกสาย ถึงเย็น เก็บบ้านเตรียมรับคณะนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (อีกครึ่งหนึ่งที่เรียนสาธารณสุขเข้ามาก่อนแล้ว แต่เป็นช่วงที่ผมกลับบ้าน) ซึ่งเข้ามาเรียนในสวนป่าสองคืน 22-24 มีค

แม่ให้เสบียงมาเพียบ ตู้เย็นเต็มจนล้นอีกแล้ว และจัดอาหารมาให้กินหลายมื้อเนื่องจากคาดว่าการเร่งเก็บกวาดบ้าน จะทำให้ไม่มีเวลาหุงหาอาหาร ซึ่งก็เป็นไปตามที่คุณแม่คาดครับ สะดวกขึ้นมาก อุ่นในเตาไมโครเวฟ กินไปเรื่อยๆ จนหมด ไม่ต้องทำครัว

อ่านต่อ »


บ้านป้องกันหนาวในป่าเมืองร้อน

อ่าน: 3608

บ้านเมืองหนาวจำเป็นไหมสำหรับเมืองไทย?

พูดยากครับ โลกเปลี่ยนแกนหมุนยากยกเว้นจะถูกชนด้วยดาวขนาดใหญ่จนเปลี่ยนโมเมนตัมเชิงมุมไปได้ แต่ถ้าถูกชนแบบนั้น ทุกชีวิตบนโลกคงดับสูญไปหมด ไม่ต้องห่วงอะไรแล้ว ต่างกับที่พวก pseudoscience พยายามจะบอก ในเมื่อแกนหมุนเปลี่ยนแปลงได้ยาก เขตเส้นศูนย์สูตรก็จะรับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าเขตอื่น จึงหนาวเย็นได้ยาก

แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้นะ เพราะความหนาวเย็นเป็นของไหล และไม่มีอะไรไปกั้นมันไว้ ช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา(ในซีกโลกเหนือ) เราก็เห็นปรากฏการณ์ที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นมากมาย พื้นที่ที่ไม่มีหิมะตก หิมะก็ตก เขตหนาว หนาวจะสาดน้ำร้อนไปในอากาศ แข็งจนกลายเป็นฝุ่นน้ำแข็งกลางอากาศไม่ทันตกถึงพื้น ในเมืองไทย อากาศหนาวจัดทางตอนเหนือและอีสานเหนือ ที่สวนป่าในบุรีรัมย์ อุณหภูมิลงต่ำได้ถึง 12ºC ทางเหนือ อุณหภูมิยอดหญ้าต่ำถึง -3ºC แต่หิมะยังไม่ตก เพราะความชื้นในอากาศไม่ถูกต้อง ต่อไปใครจะรู้ว่า อีสานจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ เชียงใหม่จะเป็นไอติมหรือไม่…

อ่านต่อ »


ทีมไอซีที เทศบาลนครพิษณุโลก 24-26 พ.ค. 56

อ่าน: 2485

หมอจอมป่วนพาทีมจากเทศบาลนครพิษณุโลกมาคุยที่สวนป่า เป็นทีมที่จะเริ่มใช้เครื่องมือทางไอที ช่วยในการจัดการความรู้ และขยายการมีส่วนร่วมของประชาชน

ไม่รู้ขับรถอย่างไร ออกจากพิษณุโลกเก้าโมงเช้าของวันวิสาขบูชา กว่าจะถึงสวนป่าก็หกโมงเย็นกว่าๆ แล้ว เนื่องจากขับรถมาไกล และครูบาอยากให้พักก่อน กินข้าว อาบน้ำ จึงงดโปรแกรมเวียนเทียนไป (เพื่อที่จะได้ดูละครคุณชายพุฒิภัทรตอนจบ?)

เช้าวันรุ่งขึ้น (วันนี้) ก็เริ่มคุย

อ่านต่อ »


สิงห์เหนือปะทะเสือใต้

อ่าน: 4172

เม้งบอกว่าจะมาสวนป่ามานานแล้วครับ เลื่อนมาเรื่อยๆ เพราะว่าภารกิจเยอะ จนช่วงสิ้นปีที่แล้ว บอกมาว่าจะมาสวนป่าเป็นครั้งแรกช่วงเดือนเมษายน — เคยมีเหตุการณ์สิงห์เหนือปะทะเสือใต้มาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนที่เม้งกลับมาจากเยอรมันหลังจากเรียนจบแล้วเบิร์ดอยู่กรุงเทพพอดี อ้อ…อีกครั้งตอนงานบวชเม้ง

พอใกล้กำหนดสอบถามกำหนดการที่แน่นอนตลอดจนจำนวนคนไป ตอนแรกบอกว่าจะขับรถตามกันมาสองคัน 1,500 กม.จากปัตตานี พอตรวจสอบอีกทีลดเหลือคันเดียว เม้งจะขับ Mu-7 มาเอง มีลุงพูน อาจารย์เศวต ไชยมงคล พร้อมทั้งลูกชาย โก้ กับ กล้า อีกสองหน่วย จะสวนป่าวันที่ 29 เม.ย.-1 พ.ค.

พอหมอเบิร์ดรู้เข้า ก็จะมาเซอร์ไพร้ซ์เม้ง บินไปลงอุบลวันที่ 28 เม.ย. เยี่ยมคุณป้า แล้วเช้าวันที่ 29 ก็ขับรถจากอุบลมาสวนป่า ส่วนเม้งซึ่งออกเดินทางจากปัตตานวันที่ 28 พักกลางทางแถวประจวบคืนหนึ่ง เดินทางมาถึงสวนป่าตอนค่ำของวันที่ 29… ไม่เข้าใจว่าขับรถผ่านสุพรรณได้ยังไง

อ่านต่อ »


เตาเผาถ่านไบโอชาร์รุ่นพัดลม

อ่าน: 10251

แรกทีเดียว สองจิตสองใจอยู่ว่าจะลองที่บ้านซึ่งหาอุปกรณ์ได้ง่ายหรือว่าจะยกไปทำที่สวนป่าซึ่งขนเครื่องมือไปแล้วบางส่วน

ในที่สุดก็คิดว่าไปทำที่สวนป่าดีกว่าครับ จะได้มีคนช่วยกันดูหลายๆ คน

เตาเผาถ่านไบโอชาร์แบบพัดลมนี้ เป็นถังทรงกระบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแตกต่างกัน (แต่ความสูงเท่ากัน) ซ้อนกันอยู่สามถัง เมื่อมองจากด้านบน (Top View) ก็จะเห็นเป็นวงกลมสามวงซ้อนกันอยู่โดยมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน

image

ถังนอก เราติดพัดลม (กระแสตรงสำหรับคอมพิวเตอร์) เป่าลมเข้าถังนอกในแนวเฉียง เพื่อให้ลมที่วิ่งในถังนอก (พื้นที่สีน้ำเงิน วงนอกสุด) หมุนทวนเข็มนาฬิกา ลมที่เป่านี้ เป่าในจุดเดียวก็ได้ อากาศในถังนอกซึ่งไม่มีที่ไป ก็จะพาทุกอณูหมุนตามกันไปทวนเข็มนาฬิกาตามแรงลมเป่า

ถังกลาง ผมจะเจาะร่องสูงสัก 1 นิ้วจากของล่าง ดัดให้ลมหมุนจากถังนอก รั่วเข้าไปถังกลางได้ และเหนี่ยวนำให้อากาศในถังกลาง (พื้นที่สีแดง วงกลาง) หมุนทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

ส่วนถังใน เจาะช่องเปิดเล็กๆ แล้วดัดจนลมจากถังใน (พื้นที่สีเทา วงในสุด) ไหลมมองมาถังกลาง (พื้นที่สีแดง) ได้โดยไหลทวนเข็มนาฬิกาเช่นกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.051923036575317 sec
Sidebar: 0.14273190498352 sec